ผลการเรียนรู้ครั้งที่4

ผลการเรียนรู้ครั้งที่4

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ 

บทที่ 3 

อีเลิร์นนิ่ง หมายถึง รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตเพื่อถ่ายทอดเนื้อหาหรือความรู้ การจัดการเรียนการสอนด้วยอีเลิร์นนิ่ง มีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ ใช้ความสามารถของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการจัดการเรียนการสอน ใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีของอินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือ และสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ

ข้อดีของอีเลิร์นนิ่ง ได้แก่ ความสะดวกสบาย,ความสัมพันธ์กับปัจจุบัน,ความเร็วแบบทันทีทันใด,ความเป็นเลิศของระบบ,การมีปฏิสัมพันธ์,ความเป็นสหวิชาการ

 ข้อจำกัดของอีเลิร์นนิ่ง ได้แก่ การเรียนออนไลน์มีข้อจำกัดการให้ผลสะท้อนกลับ,อีเลิร์นนิ่งทำให้ผู้เรียนอยู่ในสังคมแบบโดดเดี่ยวได้,อีเลิร์นนิ่งต้องสร้างแรงจูงใจภายในและมีทักษะจัดการเวลา,ผู้เรียนออนไลน์ขาดการพัฒนาทักษะการสื่อสาร 

    ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ (Learning Management System)เนื่องจากการเรียนแบบออนไลน์หรือ e-learning นั้นเป็นการเรียนที่สนับสนุนให้ผู้เรียนได้ศึกษา เรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ระบบบริหารการเรียนที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง กำหนดลำดับของเนื้อหาในบทเรียน นำส่งบทเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้เรียน ประเมินผลความสำเร็จของบทเรียน ควบคุม และสนับสนุนการให้บริการทั้งหมดแก่ผู้เรียน จึงถือว่าเป็นองค์ประกอบของ e-learning ที่สำคัญมาก เราเรียกระบบนี้ว่า  "ระบบบริหารการเรียน"

 LMS คือ ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย มีเครื่องมือและส่วนประกอบที่สำคัญ สำหรับผู้สอน ผู้เรียนและผู้ดูแลระบบ

    มูเดิ้ล หรือ Moodle ย่อมาจากคำว่า Modular Object Oriented Dynamic Learning Environment (Moodle, 2020) เป็นซอฟต์แวร์ประเภทระบบบริหารจัดการรายวิชา พัฒนาเนื้อหา และสร้างกิจกรรมการเรียนรู้หรือการเรียนการสอนในระบบอีเลิร์นนิ่ง จัดอยู่ซอฟต์แวร์ประเภทที่เรียกว่า Learning and Course and Management System: LCMS หรือ มักนิยมเรียกว่า Learning Management System: LMS

 

     สรุป อีเลินนิ่งและระบบจัดการสำหรับการจัดการระบบอีเลิร์นนิ่งด้วย LMS นั้น มี LMS ที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายจำนวนมาก ทั้งซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ และซอฟต์แวร์เปิด (Open Source Software) เช่น Moodle LMS ซึ่งมีความสามารถในการบริหารจัดการหลักสูตร สร้างรายวิชา เนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้ บริหารผู้สอนและผู้เรียน สามารถติดตามประเมินผลการเรียนรู้ ติดตามพฤติกรรมผู้เรียนในระบบ รวมทั้งจัดเตรียมเครื่องมืออำนวยความสะดวกแก่ผู้สอนและผู้เรียนในติดต่อสื่อสารด้วย กล่าวโดยสรุป LMS มีองค์ประกอบระบบย่อย ๆ ภายใน ได้แก่ระบบจัดการหลักสูตร (Course Management) ระบบการสร้างบทเรียน (Content Management) ระบบสอบและประเมินผล (Test and Evaluation System) ระบบส่งเสริมการเรียน (Course Tools) และ ระบบจัดการข้อมูล (Data Management System)







ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 13

ผลการเรียนรู้ ครั้งที่ 15

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 12